วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2558

บันทึกสะท้อนคิดประจำวันที่ 15 - 19 มิถุนายน 2558

      วันจันทร์ที่ 15 มิถุนายน 2558 
          เด็กไม่ยอมตักอาหารกินเอง ต้องให้ครูป้อน ครูคุยกับเด็กอธิบายและสร้างแรง. จูงใจให้กับเด็ก และฝึกให้เด็กรับประทานอาหารด้วยตัวเอง เมื่อเด็กทำได้คุณครูก็จะชม ให้เด็กได้มีความรู้สึกภูมิใจในสิ่งที่ตนเองทำสำเร็จ

     วันอังคารที่ 16 มิถุนายน 2558
          เด็กขยิบตา  เป็นอาการของเด็กที่ไม่สามารถควบคุมได้ โดยเด็กจะแสดงอาการ กะพริบตาถี่บ่อย ๆ 
           แนวทางแก้ไข  พยายามไม่สร้างความเครียดให้กับเด็ก ไม่ควรถามย้ำ หรือบังคับให้เด็กหยุดทำอาการขยิบตา ให้เด็กได้มีโอกาสระบายอารมณ์หรือแสดงอารมณ์บ้าง  
  
       วันพุธที่ 17  มิถุนายน.  2558
         เด็กร้องกรี๊ดแล้วดิ้น ปัญหาที่เกิดขึ้นตามปกติ  อาจเป็นเพราะเด็กยังเอาแต่ใจตนเอง ไม่ค่อยมีเหตุผล ภาษายังไม่พัฒนาเต็มที่จึงต้องแสดงออกด้วยท่าทางและพฤติกรรม
           แนวทางแก้ไข ให้เบี่ยงเบนให้เมินเฉยในที่สุดเขาก็จะรู้ว่าขืนร้องต่อไปก็ไม่สามารถเรียกร้องความสนใจจากเราได้  เมื่อหยุดร้องก็อธิบายให้เด็กฟังว่า  “คราวหน้าไม่ต้องร้อง  มีอะไรก็บอกครูได้

          วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน. 2558
        เด็กๆไม่ชอบเก็บของเล่น  ครูต้องจัดระเบียบให้เด็กๆ   ครูต้องคอยบอกให้เด็กเข้าใจเกี่ยวกับกฏระเบียบ ,กติกาภายในห้อง โดยการใช้คำพูดที่ชัดเจนโดยครูปฏิบัติเป็นตัวอย่างให้เด็ก ๆ เห็น เช่น เมื่อเด็กเล่นของเล่นเสร็จ ต้องเก็บของเข้าที่  ให้เรียบร้อยทุกครั้งหลังการเล่น

            วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน. 2558
              
         เด็กฉี่ใส่กางเกง  ไม่ยอมไปเข้าห้องน้ำ ครูเปลี่ยนกางเกงให้ แล้วบอกวิธีการใช้ห้องนำ้ให้แก่เด็ก
และพาเด็กไปดูห้องน้ำ และถ้าถอดกางเกงไม่ได้ให้บอกครูเดี๋ยวครูจะถอดให้.  ฝึกเด็กถอดกางเกง
และใส่กางเกง ฝึกให้เด็กบอกครูถ้าทำอะไรไม่ได้ เดี๋ยวครูจะสอน


วันเสาร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2558

บันทึกสะท้อนคิด ประจำวันที่ 8 - 12 มิถุนายน พ.ศ 2558

วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน  25558

   😂  เด็กยังร้องไห้ ไม่ติดโรงเรียน อยากกลับบ้าน ครูต้องคอยจับและกอดเด็กไว้ ครูฝึกให้เด็ก
ติดโรงเรียนโดยพาเด็กเล่นของเล่น ,เล่านิทาน, เปิดการ์ตูนให้เด็กดู , ให้กินนมและขนม
พาร้องเด็กๆร้องเพลงพร้อมทำท่าทางประกอบ เพื่อให้เด็กเกิดความเพลิดเพลินสนุกสนาน
พาเด็กๆไปเล่นเครื่องเล่นที่สนาม

วันอังคารที่ 9 มิถุนายน 2558

😆😆😆 เด็กยังติดของใช้ส่วนตัวอยู่. เช่น ผ้าเช็ดหน้า.  ตุ๊กตา. ขวดนม ขวดนำ้. และก็เด็กดูดนิ้วมือตนเองตลอดเวลา.  
 🌹🌹🌹แนวทางแก้ไขสำหรับเด็กที่ติดของใช้และเด็กที่ดูดนิ้วมือ คือ หาจุดที่สนใจให้กับเด็กเพื่อดึงดูดความสนใจของเด็ก ค่อยเป็นค่อยไป 

วันพุธที่  10 มิถุนายน. 2558

ดื้อเอาแต่ใจ  ต้องการให้ตอบสนองแต่ความต้องการของตนเอง  เมื่อเติบโตขึ้นจะกลายเป็นคนเห็นแก่ตัว  ไม่มีน้ำใจ  สาเหตุจากพ่อแม่ที่รักและเอาใจลูกมากิเกินไป  หรือเด็กเป็นลูกคนเล็ก  ลูกคนเดียว  เมื่อเข้าโรงเรียนทำให้เด็กเห็นแก่ตัวและเอาแต่ใจตนเอง
          แนวทางแก้ไข  ให้เด็กได้มีโอกาสตัดสินใจในการเล่น  มีกิจกรรมทั้งที่เป็นผู้นำและผู้ตามเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ว่า  ไม่สามารถยึดถือความคิดของตนเองเพียงฝ่ายเดียว  มีการตั้งกฏกติกาในการทำกิจกรรมและการเล่นที่ชัดเจน  หากทำผิดกฏจะมีการถูกลงโทษ

วันพฤหัสบดีที่. 11 มิถุนายน 2558

  ขี้เกียจ  ไม่รับผิดชอบ  มีสาเหตุมาจากพ่อแม่ที่ตามใจลูฏและช่วยทำทุกสิ่งทุกอย่างจนเด็กไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้  พ่อแม่มีความกังวลและห่วงลูกมากเกินไป  ไม่ให้ลูกช่วยเหลืองานต่าง ๆ ทีเด็กสามารถทำได้คิดแทนลูกในทุกเรื่อง
          แนวทางแก้ไข  ให้เด็กได้มีโอกาสในการช่วยเหลือตนเองโดยไม่ขัดขวางธรรมชาติความเป็นตัวของตัวเอง  เช่นเด็กอยากเล่นของเล่นที่โรงเรียนไม่ควรขัดขวางเพื่อให้เด็กได้มีอิสระในการคิดมากกว่าที่พ่อแม่ต้องคิดให้ตลอดเวลา  นอกจากนั้นควรมีกิจกรรมเสริมสร้างความเป็นตัวของตัวเอง  เช่น  ให้เด็กกำหนดการลงโทษเมื่อเล่นหรือทำผิดกติกา  ให้เด็กได้รับผิดชอบงานที่สามารถทำได้  อาจเป็นการช่วยเหลือครู  เช่น  ช่วยยกหนังสือ  ช่วยแจกสมุดการบ้านให้เพื่อน  ช่วยจัดเวร  รายงานชื่อเพื่อนที่ไม่มาโรงเรียน

วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน. 2558

ขี้อาย  เป็นอาการที่พบบ่อยได้ในเด็กทั้งก่อนวัยเรียนและเด็กวัยอนุบาล  โดยลักษณะของเด็กขี้อาย  เช่ย  เวลาซ้อมการแสดงจะทำได้ดี  แต่เมื่อแสดงต่อหน้าผู้คนจะไม่สามารถทำได้  เนื่องจากอายไม่กล้า  ซึ่งทำให้ครูรู้สึกลำบากใจการในการจัดกิจกรรมให้กับเด็กเหล่านี้  สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากเด็กที่อยู่ในครอบครัวเล็ก ๆ มีเฉพาะพ่อ  แม่  พี่เลี้ยง  ห่วงเด็กมาก  ทำให้เด็กไม่มีทักษะทางสังคม  ไม้กล้าแสดงออก  อีกทั้งไม่มีโอกาสที่จะได้เล่นกับเพื่อนเนื่องจากพ่อแม่ที่ปกป้องมากเกินไป  เด็กไม่รู้จักรับผิดชอบงานต่าง ๆ ไม่มั่นใจ  ไม่กล้าทำสิ่งต่าง ๆ นอกจากนี้การเลี้ยงดูอย่างเร่งรัดเกินวัย  ทำให้เด็กไม่พร้อม  เกิดความกังวลใจ  หวั่นใจ  และไม่แน่ใจในการกระทำของตนเองและที่สำคัญคือการที่เด็กได้ถูกล้อเลียนจากเพื่อนเช่น  พูดไม่ชัดทั้ง ๆ ที่สติปัญญาดี  แต่ผลการเรียนไม่ดี   เพราะวิตกกังวลในเรื่องการถูกล้อเลียน
          แนวทางแก้ไข  ให้เด็กได่มีโอกาสเล่นกับเพื่อนบ่อย ๆ ไม่จ้องดูและไม่กำกับการเล่น  พยายามอย่ากดดันให้เด็กทำสิ่งใดที่เกินวุฒิภาวะและพัฒนาการของเขา  และไม่ควรล้อเลียนในจุดด้วยของเด็ก  ให้เด็กฝึกรู้จักรับผิดชอบทำกิจวัตรประจำวัน